การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการSMEs
การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ SMEs หรือการสมัครสมาชิก สสว. จะทำให้ สสว. หรือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถทราบถึงการประกอบกิจการของ SMEs และสามารถประมวล รวบรวม หรือปรับปรุงฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs ให้ตรงกับสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดทำมาตรการส่งเสริม SMEs หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้ได้ตรงกับความต้องการของSMEs แต่ละกลุ่มธุรกิจแต่ละพื้นที่ในระยะแรกการขึ้นทะเบียนนี้เป็นไปตามความสมัครใจแต่ในระยะต่อไป อาจกำหนดให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนหากต้องการเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ
ใครควรต้องขึ้นทะเบียนบ้าง
1. ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) นั้นครอบคลุมผู้ประกอบการในทุกกลุ่มธุรกิจ ที่มีการจ้างงานและสินทรัพย์ถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกินตามที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2545 (กิจการภาคผลิตและภาคบริการกำหนดการจ้างงานไม่เกิน 200 คน หรือสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท ส่วนภาคการค้ากำหนดการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 100 ล้านบาท)
2. ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ทุกกลุ่ม (ที่มีจำนวนการจ้างงานหรือสินทรัพย์ถาวรตามที่กำหนด) สามารถขึ้นทะเบียนหรือสมัครสมาชิกสสว. ได้ทั้งกิจการที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลกิจการที่จดทะเบียนพาณิชย์หรือกิจการของบุคคลธรรมดาที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียน ใดๆ ที่มีที่ตั้งสถานประกอบการเป็นหลักแหล่งชัดเจน
3. ผู้ประกอบการกิจการภาคเกษตร หมายถึงผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจซึ่งมีการจ้างงานและมีการจดทะเบียนพาณิชย์หรือจดทะเบียนนิติบุคคล หรือจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน หรือการจดทะเบียนตามกฎหมายอื่นๆ เพื่อประกอบกิจการภาคเกษตรในกลุ่มการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์การล่าสัตว์และกิจกรรมบริการที่เกี่ยวข้อง ป่าไม้และการทำไการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.เป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม (ฐานทะเบียนข้อมูลประกันสังคม มาตรา 33 สถานะ Active) ที่มีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2564 เพื่อตรวจสอบขนาดกิจการที่มีสถานะเป็น SMEs
2.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th
ผู้ประกอบการSMEs จะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการขึ้นทะเบียน ?
1.ได้รับมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ด้านสินเชื่อ, การร่วมลงทุน, การค้ำประกันสินเชื่อ, การให้เงินอุดหนุน, การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่, การตลาด, ภาษี (รายละเอียดดูได้ที่ Website สสว.)
2.รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากงบประมาณของ สสว.
3.การฝึกอบรม/สัมมนา/องค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ
4.การส่งเสริมช่องทางการตลาด เช่น การออกบูธ, การจับคู่ธุรกิจ, เว็บไซต์ e-commerce
5.สิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เอกชน ที่ร่วมให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ
ดูระบบทั้งหมดของ SPLITR SMART MEETING ROOM ได้ที่นี้เลย>> คลิกเพื่ออ่าน