การวิเคาห์ตลาด

การวิเคราะห์ตลาด,คู่แข่งและวิเคราห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

การวิเคราะห์ตลาด

โดยทั่วไปนักการตลาดจะใช้เครื่องมืออย่างการ วิเคราะห์ตลาด (Marketing Analysis) เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม, การตลาด, กลุ่มเป้าหมาย, สภาพการแข่งขัน และสถานที่สำหรับวางสินค้าและบริการของคุณ มาดูกันว่าการวิเคราะห์ตลาดของนักการตลาดส่วนใหญ่ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

– ลักษณะของอุตสาหกรรม : ซึ่งส่วนนี้จะประกอบไปด้วยภาพรวมของอุตสาหกรรม, ข้อมูลสถิติของอุตสาหกรรม, อัตราการเติบโต และแนวโน้มของอุตสาหกรรม

– ตลาดเป้าหมาย (Target Market) : ใครคือลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ โดยข้อมูลเหล่านี้รวมถึงข้อมูลประชากรที่สามารถนำมากำหนดเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงอายุ, เพศ, ระดับรายได้, และไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงขนาดของตลาดเป้าหมาย, ศักยภาพในการซื้อ และแรงจูงใจที่จะเรียกผู้ชม จะทำให้คุณเข้าใจและเข้าถึงตลาดมากยิ่งขึ้น

– รวบรวมวิจัยตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ : โดยศึกษาเนื้อหาเบื้องต้นเหล่านั้น ทั้งกระบวนการดำเนินการวิจัย, สถิติ ที่จะสนับสนุนการวิเคราะห์ตลาดของคุณ

การวิเคราห์คู่แข่ง

– การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitive Analysis) : นอกจากวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้ว สิ่งสำคัญคือการวิเคราะห์คู่แข่งว่า ใครคือคู่แข่งของคุณ, จุดแข็งและจุดอ่อนของการแข่งขันคืออะไร? เพราะคู่แข่งเปรียบเสมือนสิ่งกีดขวางที่อยู่บนถนน ที่อาจทำให้คุณไม่สามารถเป็นหนึ่งในตลาดได้ ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

  1. รวบรวมรายชื่อคู่แข่งทั้งหมด

ระดมสมองกับทีมของคุณในการค้นหาว่าใครบ้างที่เป็นคู่แข่งของแบรนด์หรือธุรกิจของคุณ ทั้งคู่แข่งหลักและคู่แข่งรองรวมถึงคู่แข่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

2. แยกคู่แข่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่หนึ่ง คือ คู่แข่งปัจจุบันที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับแบรนด์ ในตำแหน่งและตลาดเดียวกัน อีกกลุ่ม คือ แบรนด์หรือธุรกิจที่คุณอยากจะแข่งขันด้วย ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณ

3. ใส่ข้อมูลคู่แข่งขัน

การวิเคราะห์คู่แข่งจำเป็นต้องมองในทุกๆ มุมตั้งแต่วิสัยทัศน์ คุณค่า มาจนถึงการออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) เช่น พวกโลโก้ การใช้สี การใช้ตัวอักษร และเอามาทำเป็น Template อย่างง่าย เพื่อเปรียบเทียบคู่แข่งทั้งหมดที่มี โดยข้อมูลที่มีควรประกอบไปด้วยหัวใจหลักของแบรนด์ (จุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณค่า)

  1. Look and feel เป็นอย่างไร
  2. คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ (Value Proposition)
  3. Tagline
  4. สินค้าและบริการ
  5. ลักษณะของลูกค้า (Persona)
  6. พวกเขาพูดคุยกับลูกค้าอย่างไร
  7. จุดแข็ง จุดอ่อน
  8. ความเหมือน / ความแตกต่าง
  9. อุปสรรค
  10. ช่องทางการตลาด
  11. ช่องทางการสื่อสาร
  12. ช่องทางการทำโฆษณา
  13. ช่องทางการขาย
  14. รายได้
  15. อื่นq

4. วิเคราะห์ธุรกิจของตัวคุณเอง

เมื่อคุณเห็นข้อมูลเปรียบเทียบของคู่แข่งแล้ว ก็ได้เวลาวิเคราะห์ธุรกิจของตัวเอง แล้วลองนำมาเปรียบเทียบกับคู่แข่งว่า ในแต่ละหัวข้อคุณมีอะไรที่แตกต่าง โดดเด่นหรือด้อยกว่าคู่แข่ง แล้วพยายามคิดให้ออกว่าจุดไหนที่คุณจะมีศักยภาพในการแข่งขัน จุดไหนที่ไม่ควรเข้าไปแข่งขัน จุดไหนคือโอกาสทางการแข่งขัน ซึ่งความท้าทายนั้นก็อยู่ที่ว่าขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ต้องเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวตนและความถนัดของคุณเองจริงๆ

5.กำหนดจุดเด่นที่แตกต่างของตัวคุณ

เอาจุดเด่นที่ไม่เหมือนคู่แข่ง และต้องเป็นจุดที่มีศักยภาพในการทำตลาด และนำมาวาดภาพตำแหน่งของคุณในตลาด เพื่อดูว่าคุณนั้นอยู่จุดไหนและคู่แข่งอยู่จุดไหน ด้วยการใช้ Positioning Chart ซึ่งก็คือ การหาตำแหน่งของแบรนด์หรือธุรกิจในตลาด (Brand Positioning) โดยการวางตำแหน่งนั้นจะทำให้คุณเห็นว่าคุณจะทำการสื่อสารการตลาด และเน้นจุดขายของคุณอย่างไร

การวิเคราห์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ตรงจุด เพื่อการเพิ่มยอดขาย และภาพลักษณ์ของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในทุกๆ ธุรกิจ เช่นวงการธุรกิจไอที การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่แรก และไม่ควรกว้างมากเกินไป เช่น เพศ, ช่วงอายุ, , ไลฟ์สไตล์, กำลังซื้อ เป็นต้น จะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนั้นได้จริงๆ ว่า กลุ่มลูกค้ากลุ่มนั้นกำลังประสบปัญหาด้านใด และกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาช่วยอะไรเขาได้บ้าง โดยที่เราสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการได้เบื้องต้นจาก

ข้อมูลประชากร (Demographics) คือ ระดับการศึกษา ความสัมพันธ์ การทำงาน ฯลฯ

– ความสนใจ (interest) ความสนใจต่างๆ Shopping สินค้าอะไร แฟชั่น กำลังตัดสินใจด้านไหน เช่น รถยนต์ การศึกษา แฟชั่น งานอดิเรกต่างๆ

– พฤติกรรม (Behaviors) สามารถระบุกิจกรรมที่ทำการท่องเที่ยว ยี่ห้อ โทรศัพท์มือถือที่ใช้

หน้าที่ของแบรนด์คือ วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ใกล้เคียงกับคุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการมากที่สุด เพิ่มเติมสำหรับตัวอย่างวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมาย มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

– แบบทางตรง (Direct Target) คือการเลือกกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่ตรงกับสินค้าโดยตรงและมีปัญหา Pain Point เดียวกัน เช่น ยาลดความอ้วน จับกลุ่มคน อ้วน หรือคนที่กำลังจะลดความอ้วน เพื่อเป็น Direct Target

– แบบทางอ้อม (Indirect Target) คือการเลือกกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือเลือกจากปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องสำอางกับพนักงานสาวออฟฟิศในกรุงเทพฯ เลือกข้อมูลประชากร พฤติกรรม ความสนใจแทนที่จะเลือกแค่เพศ อายุ หรือตำแหน่งที่ตั้ง เป็นต้น

หากท่านสนใจระบบจองห้องประชุมสามารถดูระบบทั้งหมดของ SPLITR SMART MEETING ROOM ได้ที่นี่เลย>> คลิกเพื่ออ่าน